โครงการPSU Hackathon ( Health&Wellness)
ในระหว่างวันที่ 21 – 23 สิงหาคม 2563 ณ ห้อง Bsc 4 ชั้น 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จัดโดยสถานพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการนักศึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (P-SEDA) โดยได้รับความร่วมมือกำหนดโจทย์ปัญหาจาก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่ และบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)
.
สำหรับผู้เข้าร่วมในครั้งนี้ 27 ทีม รวม 112 คน ประกอบด้วย นักเรียนจากโรงเรียนสวีวิทยา จ.ชุมพร โรงเรียนศาสนศึกษา จ.ปัตตานี นักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักศึกษา ศิษย์เก่า บุคลากรจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทักษิณ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิต บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่ และบุคคลทั่วไป โดยผู้เข้าร่วม จะได้เรียนรู้Design Thinking , Introduction Business Model Canvas (BMC) , Value Proposition Canvas (VP)พร้อมทั้งเทคนิคการนำเสนอ (Pitching) และวันสุดท้ายเป็นกิจกรรมการนำเสนอผลงานของผู้เข้าร่วม
.
โดยคณะกรรมการประกอบด้วย
1.ดร.นพ.ชนนท์ กองกมล รองคณบดีฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลและนวัตกรรมดิจิตอล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2.อ.นพ.พิทยาพล ปีตธวัชชัย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3.รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4.คุณนิรันดร์ บันลือรัตน์ Strategyzer Innovation Coach Co-Founder of DoCare.Co and Chivit-D platform, SCG CEMENT-BUILDING MATERIALS, SCG
5.คุณยงค์ยุทธ์ บูรณเทพาภรณ์ Produce Management/Business Development/Strategy/Partnership Business, SCG
.
และขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุนในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ต่อไปนี้
1. ทีม MindSpace
ชื่อผลงาน : APPLICATION
ที่จะเข้ามาเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในกลุ่มของ ASD (Autism Spectrum Disorder) และ ADHD(Attention-Deficit Hyperactivity Disorder)
1.MissNatchaya Nararust
2.นางสาวศุจินันท์ วิสิทธิ์ศาสตร์
3.MissThatchaphat Naksen
จากหน่วยงานTake a seat project(NGO) กรุงเทพมหานคร
2. ทีม PLASTER
ชื่อผลงาน : แอพพลิเคชั่น Friend Zone เป็น Community Application สำหรับกลุ่มวัยรุ่นที่มีความเปราะบางทางจิตใจ และต้องการ “เพื่อน”
ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆก็ตาม
1.นางสาวนัยน์ภัค บุญดี
2.นางสาวสุณัฐชา อาภาคุณากร
3.นางสาวเตชิกา เตชะอินทราวงศ์
4.นางสาวณัฐมน คชาสกุล
5.นางสาวทอขวัญ อดิศักดิ์เดชา
จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ทีม โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ ทีม1
ชื่อผลงาน : Check Care อุปกรณ์ตรวจวัดความผิดปกติของร่างกายและ Platformบริการดูแลสุขภาพ
1.นางชุติกาญจน์ รัตนโอภา
2.นางสาวฐิติมา เอียดนุช
3.นางสาวป่ารี่ด๊ะ บิลล่าเต๊ะ
4.นางรุ่งฤดี สุวรรณชาตรี
5.นางชนิตา รองสวัสดิ์
จากโรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่
4. ทีม Safebox
ชื่อผลงาน : SafeBoxes ผลิตอุปกรณ์ถอดใบมีดผ่าตัดและเข็มฉีดยา
1.นายวิชญะ ทองตะโก
2.นายวสวัฒน์ เวียงฉานะ
3.นายธีรภัทร สินทร์ทรัพย์
จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. ทีม สบายใจอาหารคลีน
ชื่อผลงาน : อาหารคลีนเพื่อสุขภาพ, อาหารสำหรับผู้ป่วยเฉพาะทาง
1.นายณฤกษ์ ดีชัยยะ
2.นายทิวัตถ์ แก้วอักษร
3.นายวัชรพล สรรพพันธ์
จากหน่วยงานสบายใจอาหารคลีน ภูเก็ต
6. ทีม Health Mom
ชื่อผลงาน : Health Mom แอพพลิเคชั่นเพื่อสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
1.นายสันทัด พรหมแท่น
2.นางสาวบุษยมาส หนูเอียด
3.นางสาวธนาพร ศรีเนตร
จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
7. ทีม Sci&Innova
ชื่อผลงาน : Chronicare Patches วัสดุตกแต่งแผลจาก “แผ่นกาวว่องไวต่อการการกดที่ผลิตมาจากยางพารา”
1.นางสาวสุภากิจ เภาเสน
2.นายทรรษไนย แหวนเงิน
3.นางสาวสุทธิวรรณ วุ่นหนู
จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์