9 กรกฎาคม 2565 สถานพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการนักศึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดพิธีเปิดการแข่งขันโครงการ Smart Natural Rubber Hackathon ขึ้น ณ ห้องคริสตัล โรงแรมคริสตัล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.คำรณ พิทักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมแข่งขัน และ ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทยเป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนการจัดการแข่งขันในครั้งนี้จากการยางแห่งประเทศไทย
สำหรับการแข่งขัน Smart Natural Rubber Hackathon มีโจทย์ในการแข่งขันทั้งหมด 3 โจทย์ ดังนี้
- เครื่องมือฉีดพ่นสารเคมี สำหรับต้นยางพารา ที่มีความสูง 20 เมตรขึ้นไป
- เครื่องจักร/อุปกรณ์ สำหรับเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อลดการใช้แรงงาน
- เครื่องจักร/อุปกรณ์ เพื่อลดการใช้พลังงานในการผลิตวัตถุดิบยาง/ผลิตภัณฑ์ยาง
โดยมีผู้เข้าร่วมจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเเม่โจ้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยทักษิณ และโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ/สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา รวมทั้งหมด 16 ทีม เพื่อคัดเลือกทีมที่มีผลงานที่มีโอกาสพัฒนาต่อยอด และแก้ปัญหาของผู้ใช้งานได้จริงๆ รับทุนพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ 5 ทีม ทีมละ 100,000 บาท
ช่วงเช้าของวันนี้น้องๆ ผู้เข้าร่วม จะได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ยางและการค้นหาคุณค่าของบริการ ผลิตภัณฑ์ รวมถึงกลุ่มลูกค้าหลัก จากวิทยากร 2 ท่าน
เรารู้จัก “ยาง” กันมากแค่ไหน
โดย รศ.ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ร่วมค้นหา Value และ Key Customer
โดย ผศ.ดร.รัญชนา สินธวาลัย
รักษาการแทนผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ช่วงบ่าย กิจกรรมพบที่ปรึกษา และ Pitching ให้ Touching ต้องทำยังไง
โดยการเข้าพบที่ปรึกษา ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จำนวน 8 ท่าน ดังนี้
- ดร.วฤทธิ์ วิชกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- อาจารย์นิติพันธุ์ วิทยผดุง อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ดร.ฐานันดร์ศักดิ์ เทพญา อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ผศ.อนุวัตร ประเสริฐสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ผศ.สุธน แซ่ว่อง อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- รศ.ดร.นริศ ท้าวจันทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และพันธกิจเพื่อสังคม คณะทรัพยากรธรรมชาต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- รศ.ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- รศ.อาซีซัน แกสมาน ผู้อำนวยการสำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และพบกับการ Pitching ให้ Touching ต้องทำยังไง
โดยคุณฐิติรัตน์ หอจตุรพิธพร เจ้าหน้าที่บ่มเพาะผู้ประกอบการนักศึกษา สถานพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการนักศึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์