โครงการ“เส้นทางสู่นวัตวณิชย์” ครั้งที่ 9 รอบระดับภูมิภาคภาคใต้จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2564 รูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ zoom โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งหมด 22 ทีมจาก 4 มหาวิทยาลัย รวม 110 คน
ดำเนินการจัดโดยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นการแข่งขันในระดับภูมิภาคภาคใต้ ซึ่งมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ เพื่อคัดเลือกทีมที่มีศักยภาพและมีความพร้อมสู่การแข่งขันในระดับประเทศ
โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โครงการ“เส้นทางสู่นวัตวณิชย์” ครั้งที่ 9 ในครั้งนี้ กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงาน โดย ดร. อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
กล่าวให้กำลังใจผู้เข้าร่วมแข่งขัน โดย ผศ.คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ดร.นุกูล อินทระสังขา ผู้อำนวยการสำนักบ่มเพาะวิชาการ เพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ และผศ.วรพงค์ บุญช่วยแทน ผู้อำนวยการสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
และได้รับเกียรติจากท่านคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการคัดเลือก ดังนี้
ดร.สุมนรัตน์ ริยาพันธ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
รศ.ดร.ดวงหทัย เพ็ญตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ผศ.ดร.กิตติชัย ราชมหา อาจารย์ประจำวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เชี่ยวชาญด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการ
คุณนิรันดร์ บันลือรัตน์ Strategy Innovatiom Coach Co-Founder, Chivit-D Platform,SCG Expertise: Business Model Canvas, Value Proposition Design Canvas, BusinessDevelopment Digital Marketing
คุณภูสิษฐ์ จาตุรงคกุล อุปนายกสมาคมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทย ที่ปรึกษาบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ การสร้างแบรนด์ การตลาด และกลยุทธ์
.
ผลการแข่งขันรอบระดับภูมิภาค ได้แก่
รางวัลชนะเลิศ ได้รับรางวัล 30,000 บาท ได้แก่
ทีม Horizon จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผลงานวิจัย : น้ำลายเทียมแบบเจลบอล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่
ทีม Morkit จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผลงานวิจัย : ชุดทดสอบตรวจหาเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ชนิดทริโคพัยตอน
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท ได้แก่
ทีม Vittoria จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผลงานวิจัย : แผ่นหนังเทียมที่ผลิตจากยางพาราและกรรมวิธีในการเตรียมผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่
- ทีม Pro worm feed จากมหาวิทยาลัยทักษิณ
ผลงานวิจัย : กรรมวิธีการควบคุมการเจริญเติบโตของพ่อแม่พันธุ์เพรียงทรายหรือไส้เดือนทะเล ด้วยการควบคุมระดับความเค็มของน้ำร่วมกับปริมาณแสงสว่างที่ได้รับ
- ทีม Advance TPEs international จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผลงานวิจัย : กระบวนการผลิตยางรูปแบบเม็ด
ขอแสดงความยินดีกับทุกทีมที่ได้ผ่านเข้ารอบไปแข่งขันรอบระดับประเทศ